การท่องเที่ยวเป็นกิจกรรมหนึ่งของมนุษย์ทุกชาติทุกภาษา นอกจากการท่องเที่ยวเพื่อการพักผ่อนหย่อนใจแล้ว การท่องเที่ยวยังเป็นการเปิดโลกทัศน์เพิ่มพูนความเข้าใจ ความคิดเกี่ยวกับโลกและชีวิตให้กับมนุษย์ ทุกวันนี้การเดินทางติดต่อระหว่างประเทศสะดวกรวดเร็ว ทำให้การท่องเที่ยวแพร่หลายมากยิ่งขึ้น และจัดเป็นอุตสาหกรรมที่นำรายได้เข้าสู่ประเทศและประชาชนหลายอาชีพ รายได้จากการท่องเที่ยวของประเทศไทยมากเป็นลำดับต้นๆ เมื่อเทียบกับรายได้ทั้งหมดของประเทศ
การท่องเที่ยวของประเทศไทยจึงได้รับการสนับสนุนอย่างเต็มที่ ทั้งการท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นเองและการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม ซึ่งเกิดจากการสร้างสรรค์ของมนุษย์ สำหรับแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติของประเทศไทยมีหลายชนิด ซึ่งสามารถอธิบายลักษณะและรูปแบบของแหล่ง การกำเนิด รวมทั้งแนวทางการพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวโดยใช้ความรู้หรือข้อมูลทางธรณี วิทยาแทบทั้งหมด ในอดีตแหล่งท่องเที่ยวตามธรรมชาติของไทยไม่มีการวางแผนด้านบริหารจัดการ แหล่งท่องเที่ยวเหล่านี้เปิดขึ้นมารับนักท่องเที่ยวไปตามสภาพ เมื่อใช้พื้นที่เป็นเวลานานและนักท่องเที่ยวเข้าไปมากๆ ในที่สุดแหล่งท่องเที่ยวนั้นก็จะเสื่อมสภาพสูญเสียการเป็นแหล่งท่องเที่ยว และบางพื้นที่ก็เสียหายไป เพราะการเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ทั้งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและอาจเนื่องมา จากน้ำท่วมและพิบัติภัยธรรมชาติอย่างอื่น
ปัจจุบันมีแหล่งท่องเที่ยวตามธรรมชาติหลายแหล่งของประเทศไทยที่สูญเสียสภาพ แวดล้อมและความสวยงามตามธรรมชาติ การจะฟื้นฟูแก้ไขให้แหล่งเหล่านั้นกลับฟื้นขึ้นมาเหมือนเดิมเป็นเรื่องที่ ค่อนข้างยุ่งยาก เนื่องจากแหล่งท่องเที่ยวตามธรรมชาติเกิดขึ้นจากความเหมาะสมของสภาพแวดล้อม ในเวลานั้นที่ประกอบกันขึ้นมาจากธรรมชาติรูปแบบต่างๆ ที่มีอยู่ในพื้นที่ เช่น ต้นไม้ สายน้ำ ภูเขา โขดหิน เป็นต้น สิ่งต่างๆเหล่านี้จะพึ่งพิงและสัมพันธ์กันอยู่ เมื่อถือกำเนิดขึ้น ณ จุดใดจุดหนึ่งบนพื้นผิวโลกแล้วจะผสมผสานกันเป็นความสวยงามที่ลงตัวสร้างความ พึงพอใจให้กับมนุษย์ ซึ่งพร้อมที่จะเดินทางมาท่องเที่ยว เพิ่มประสบการณ์ให้กับชีวิตจนแหล่งท่องเที่ยวนั้นๆ เป็นที่รู้จักมีชื่อเสียงต่อคนทั่วไป
การจะเข้าใจแหล่งท่องเที่ยวตามธรรมชาติทั้งหมดที่เกิดขึ้นบนพื้นโลก สามารถใช้ความรู้ทางธรณีวิทยาเป็นพื้นฐานในการอธิบายลักษณะทางกายภาพของ แหล่ง เพราะธรณีวิทยาเป็นวิชาที่กล่าวถึงโลกและสิ่งต่างๆที่ปรากฏขึ้นบนโลกตั้งแต่ อดีตจนวิวัฒนาการและเปลี่ยนแปลงมามีสภาพเช่นปัจจุบัน การบูรณาการความรู้ทางด้านธรณีวิทยาเข้ากับความรู้ในสาขาวิชาอื่นเพื่อใช้ใน การอนุรักษ์ป้องกัน แก้ไขและฟื้นฟูแหล่งท่องเที่ยวจึงเป็นความจำเป็นอย่างยิ่ง แหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติอาจจำแนกออกเป็น 3 กลุ่มคือ
|